หน่วยที่ 3


                                      การสื่อสารเพื่อ การเรียนการสอน
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
            พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ...การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น
เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
          1.กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย  (GOALS)
      การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย หรือวัตถุประสงค์ย่อย
          2.การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test)
      เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
        3.ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities)
        โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
          4.การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test)
       มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
            4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
            4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
           ในระบบการเรียนการสอน หากพิจารณากระบวนการเรียนการสอนแล้วจะมีลักษณะเป็นกระบวนการของการสื่อสารหลายประการ ทั้งทางด้านองค์ประกอบและกระบวนการ นั่นคือ ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร
            โดยมีผู้เรียนเป็นผู้รับสารซึ่งต้องอาศัยสื่อเป็นตัวกลาง และประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นวัดได้ โดยคุณภาพและปริมาณของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้เรียนถ้าเปรียบเทียบองค์ประกอบของระบบการสื่อสารกับองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนการสอน
           ในระบบการเรียนการสอนจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ จุดมุ่งหมาย ครู วิธีการสอน สื่อการสอนและผู้เรียนซึ่งแต่ละองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องมีความสำคัญเท่าเทียมกันและสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจึงจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพการทดสอบประสิทธิภาพ
            ในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพครูผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจและใช้หลักการและกระบวนการของการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ด้วยคือจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนที่ชัดเจน สามารถวัดผลและประเมินผลได้ทันทีมีการ เลือกและจัดลำดับประสบการณ์ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความเหมาะสมกับสภาพการณ์และวัตถุประสงค์ครูควรสามารถเลือกและใช้สื่อกลางในกระบวนการเรียนการสอนให้ได้ผลดี สำหรับสื่อกลาง
ในการเรียนการสอนอาจแบ่งประเภทออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1.    วัสดุ (Material or Software)
    ได้แก่วัสดุที่ทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียงและอักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์
2.    เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Device or Hardware)
      ได้แก่ สื่อที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ซึ่งสามารถทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหว หรือไปสู่นักเรียนจำนวนมากหรือไปได้ไกล ๆ รวดเร็ว
3.    เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ (Technique or Method)
        ได้แก่ ประสบการณ์ต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
   1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ   inform
   2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา   teach or education
   3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง  please of entertain
   4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ  Propose or persuade
   5.  เพื่อเรียนรู้  learn
   6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ  dispose or decide

องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
    1)  ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
    2) 
ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder)
    3) 
สาร (Messages)
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) 
          กระบวนการสื่อสารอาจอธิบายได้หลายรูปแบบ (Models) รูปแบบที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ SMCR Model
ปัญหาการสื่อสาร 
         ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด Verbal ism ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น