หน่วยที่ 1


                 นวัตกรรมทางการศึกษา
            Education  Innovation

ความหมายของนวัตกรรม
นว แปลว่า ใหม่
กรรม  แปลว่า หลักปฎิบัติ  หรือ  วิธีการ
นวตกรรม หรือ  นวกรรม  คือ  วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม  โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาหรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและ
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ  ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมี ประสิทธิภาพเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นวัตกรรม
 ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ก็เรียกว่า   นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้เรียกว่าเป็นนวัตกร(Innovator)    (boonpan edt01.htm)
    มอร์ตัน Morton,J.A.  นวัตกรรมเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง  หมายถึง   การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ
  ทอมัส ฮิวช (Thomas Hughes)นวัตกรรมเป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติ  หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ

ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวม ทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา  เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้
ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
                        การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
-   แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-   เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness)
                        เดิมทีเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน  นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
-                    ศูนย์การเรียน (Learning Center)
-                    การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
                        แต่ก่อนการจัดเวลาเพื่อการสอนหรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่นถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมงเท่ากันทุกวิชา ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
 - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน
                        การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึง
จำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
   - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
   - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม
1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.  มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้
พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่  ใช้เข้า ไปในกระบวนการ
และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.  มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.  ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1.นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น                                  
2. บทเรียนน่าสนใจ
3.  นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม                  
4.  ลดเวลาในการสอน
5.  บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน                       
6.  ประหยัดค่าใช้จ่าย
นวัตกรรมทางการศึกษาในประเทศไทย
1. ชุดการสอน  คือ  การนำเอาสื่อประสมมาใช้เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมแต่ละคนให้บรรลุตามเป้าหมาย
2.บทเรียนสำเร็จรูป เป็นบทเรียนซึ่งมีสื่อการสอนได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ไว้อย่างมีระบบและเป็นขั้นตอน
3.บทเรียนแบบโมดูล หมายถึง  บทเรียนหน่วยใดหน่วยหนึ่งที่สำเร็จในตัว  สร้างสำหรับให้นักเรียนศึกษาด้วยตัวเอง
ชนิดของโมดูล  แบ่งได้ดังนี้
1.  โมดูลที่เป็นสิ่งพิมพ์
2.  โมดูลที่เป็นสื่ออื่น ๆ เช่น  สไลด์  เทป ฯลฯ
4.ศูนย์การเรียน (Learning Center)หมายถึง สถานที่ซึ่งจัดบรรยากาศให้ผู้เรียนสามารถเข้าศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเองจากโปรแกรมการสอน ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการสอน
5.การสอนเป็นคณะ (Team Teaching) เป็นการสอนที่ต้องมีครูตั้งแต่  2  คนขึ้นไปร่วมกันรับผิดชอบการสอนในวิชาเดียวกันและร่วมกัน ประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน
6.การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching) คือ การสอนในสภาพการจำลองย่นย่อ เพื่อฝึกทักษะการสอนโดยการสอนกับนักเรียนกลุ่มขนาดเล็ก ๆ
7.การเรียนเพื่อความรอบรู้ (Mastery  Learning) บลูม ถือว่าการที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรอบรู้ในการเรียน  ผู้เรียนจะต้องรอบรู้ในจุดใดจุดหนึ่งซึ่งเป็นขั้นต่ำสุดที่ผู้เรียนจะต้องรู้ จึงจะสามารถเรียนต่อไปได้
ขั้นตอนของการเรียน  เพื่อความรอบรู้ของบลูม
1.  รายวิชาแบ่งเป็นตอน ๆ หรือหน่วยย่อยให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน
2.  กำหนดจุดประสงค์ในแต่ละหน่วยให้ชัดเจน
3.  กำหนดมาตรฐานของความรอบรู้
4.  ภารกิจในการเรียนรู้เหมือนการสอนในห้องเรียนปกติ
 5.  ทดสอบวินิจฉัยความก้าวหน้าในการเรียนของแต่ละหน่วย
6.  การสอนซ่อมเสริมเพิ่มเติม
7.  เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแต่ละหน่วยให้ประเมินผล
8.การสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง
จุดประสงค์ของการสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง
1.  เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมการศึกษา
2. เพื่อสนับสนุนความจริงที่ว่าเด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ขั้นตอนการสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง
1.  ผู้เรียนกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เอง
2.  ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ
3.  นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคล
4.  ศึกษาเรื่องที่สนใจ
5.  นักเรียนจะต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ศึกษา
6.  ครูต้องจัดเวลาและโอกาสให้กับผู้เรียน
นวัตกรรมทางการศึกษา ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
1.   E-learning   เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาห์จรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและ
ความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อน
ร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ
การใช้ Web Based Course
 การที่ผู้สอนให้รายละเอียดทั้งด้านเนื้อหา แหล่งค้นคว้าแบบฝึกหัด ฯลฯโดยการนำรายละเอียดดังกล่าวใส่ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous มีดังนี้
1 การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
2 รับข้อมูลได้รวดเร็ว ทันเวลา และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน 
3  การให้ความรู้ผ่านสื่อหลากหลาย (Multimedia)
2.  ห้องเรียนเสมือนจริง
            ความหมาย   การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้น
ในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus

มีนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom
   บุญเกื้อ ควรหาเวช ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
(บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543:195 )
  รุจโรจน์ แก้วอุไร กล่าวไว้ว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการจัดการเรียนการ สอนทางไกลเต็มรูปแบบ  โดยมีองค์ประกอบครบ ได้แก่ ตัวผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อน
ร่วมชั้น เข้าสู่ กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กัน มีสื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่ม หรือตอบโต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วม
ชั้นได้เต็มที่ (คล้ายกับ chat room)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) เป็นการเรียน การสอนที่จะต้องมีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดผู้เรียนและผู้สอน เพื่อให้เกิดการ
เรียนการสอนมีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอนผู้เรียนไม่ต้องเดินทางแต่เรียกผ่านเครือข่ายตามกำหนดเวลาเพื่อเข้าห้องเรียนและเรียน ได้แม้จะอยู่ที่ใดในโลก

3. สื่อหลายมิติ 
ความหมาย   สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (Hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar  Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน
          มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย
ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ

ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
1. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาดภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
2.  ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
3. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
4. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
5. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

อ้างอิง
ž      เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร   "การพัฒนานวัตรรม (ด้านที่ 3)  ให้เป็นผลงานวิชาการครูที่มีคุณภาพ สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า กรุงเทพมหานคร  
ž        


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น